f
การขออนุญาตทำทางเชื่อมเข้า-ออกทางหลวง
ลงวันที่ 15/04/2563

การขออนุญาตทำทางเชื่อมเข้า-ออกทางหลวง

ในปัจจุบันกรมทางหลวงดูแลทางหลวงอยู่ 3 ประเภท คือ
1. ทางหลวงพิเศษ
2. ทางหลวงแผ่นดิน
3. ทางหลวงสัมปทาน
ผู้ที่มีความประสงค์จะขอก่อสร้างทางเชื่อมเข้าออกทางหลวงพิเศษและ
ทางหลวงแผ่นดิน หรือปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวง จะต้องขอ
อนุญาตต่อกรมทางหลวง ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้

ขั้นตอนการให้บริการ
1. ยื่นคำขอ
2. เจ้าหน้าที่รับเรื่องแยกตามประเภท
    - การการขออนุญาตทำทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าออกบ้านพักอาศัยที่ดินว่างเปล่า (มาตรา 37, 55) (นายช่างแขวงการทางได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต)
    - การขออนุญาตทำทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าอาคารพาณิชย์สถานีบริการน้ำมัน โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ (มาตรา37, 55)(ผู้อำนวยการสำนักทางหลวง ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต)
    - การการขออนุญาตทำ ทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าอาคารพาณิชย์สถานีบริการน้ำมัน โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ (มาตรา37,55)(ผู้อำนวยการสำนักทางหลวง ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาต)
3. การรับเรื่อง


หลักฐานที่ใช้
1แบบฟอร์มคำขออนุญาตของกรมทางหลวง ซึ่งกรมทางหลวงจัดไว้ให้ฟรีหรือ Download ได้จากตัวอย่าง
    - คำขออนุญาตสำหรับเอกชน (แบบเลขที่ 37/1)
    - คำขออนุญาตสำหรับหน่วยราชการ (แบบเลขที่ 37/2)

2.แบบแปลนก่อสร้างทางเชื่อมกับทางหลวง กรมทางหลวงมีร่างต้นแบบไว้ให้ฟรีหรือ Download ได้จากตัวอย่าง สำหรับรูปแบบมาตรฐาน ซึ่งมีอยู่ 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
    - ทางเชื่อมเพื่อเข้า – ออก บ้านพักอาศัย (แบบเลขที่ 37/1(1) -37/1(2))
    - ทางเชื่อมเพื่อเข้า – ออก อาคารพาณิชย์ (แบบเลขที่ 37/2(1) -37/2(2))
    - ทางเชื่อมเพื่อเข้า – ออก สถานีบริการน้ำมัน (แบบเลขที่ 37/3(1) -37/3(5))
(แบบมาตรฐานทางเข้า – ออก ขนาดเท่ากับกระดาษ A3)
3. ภาพถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต ภาพถ่ายสำเนาโฉนดที่ดิน ซึ่งประสงค์จะทำทางเชื่อมเข้าออกทางหลวง กรณีที่ที่ดินติดจำนองจะต้องมีหนังสือยินยอมจาก
ผู้รับจำนอง
4.กรณีทางเชื่อมที่ขออนุญาตมีรัศมีเลี้ยวปากทางเข้าออกล้ำหน้าที่ดินผู้อื่น อาจจะต้องให้เจ้าของที่ดินแสดง ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
5. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการขออนุญาตแทน เจ้าของที่ดินจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจด้วย พร้อมสำเนา บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
6.กรณีเป็นนิติบุคคลจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่ลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจพร้อมตราประทับของ นิติบุคคลนั้นๆ และต้องมีหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลนั้นด้วย ท่านจะต้องเตรียมแบบฟอร์มคำขออนุญาต เอกสารและแบบแปลน ต้องใช้ทั้งหมด 4 ชุด สำหรับหนังสือมอบอำนาจfฉบับแรกให้ติดอากรราคา 10 บาท


แบบฟอร์ม
แบบคำขออนุญาตสร้างทาง ถนน หรือสิ่งอำนวยในเขตทางหลวง เพื่อเป็นทางเข้าออกทางหลวง(คำขออนุญาตสำหรับเอกชน)
แบบคำขออนุญาตสร้างทาง ถนน หรือสิ่งอำนวยในเขตทางหลวง เพื่อเป็นทางเข้าออกทางหลวง(คำขออนุญาตสำหรับหน่วยราชการ)
แบบมาตรฐานลักษณะทางเข้า-ออกทางหลวง(2ช่องจราจรขึ้นไป)
แบบมาตรฐานลักษณะทางเข้า-ออกทางหลวง(กองวิศวกรรมจราจร)
แบบมาตรฐานลักษณะทางเข้า-ออกทางหลวง(กองวิศวกรรมจราจร)


ระยะเวลาให้บริการ

1. การการขออนุญาตทำทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าออกบ้านพักอาศัยที่ดินว่างเปล่า
   1.1.ช่วงยื่นคำขอ 1 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 15 นาที
   1.2 ช่วงดำเนินการจนแล้วเสร็จ (รวมระยะเวลายื่นคำขอ) 5 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 12 วัน 15 นาที
2.  การขออนุญาตทำทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าอาคารพาณิชย์สถานีบริการน้ำมัน โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ  
   2.1  ช่วงยื่นคำขอ  1 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 15 นาที
   2.2 ช่วงดำเนินการจนแล้วเสร็จ (รวมระยะเวลายื่นคำขอ) 7 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 27 วัน 15 นาที
3. การการขออนุญาตทำ ทางเชื่อมตามแบบมาตรฐานเข้าอาคารพาณิชย์สถานีบริการน้ำมัน โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ 
   3.1 ช่วงยื่นคำขอ 1 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 15 นาที
   3.2 ช่วงดำเนินการจนแล้วเสร็จ (รวมระยะเวลายื่นคำขอ) 9 ขั้นตอน 1 จุดบริการ รวมระยะเวลา 45 วัน 15 นาที


'